การบริหารความเสี่ยงในเทรดและการลงทุนในหุ้น: วิธีลดความเสี่ยงและสร้างพอร์ตที่แข็งแกร่ง

การบริหารความเสี่ยงในเทรดและการลงทุนในหุ้น: วิธีลดความเสี่ยงและสร้างพอร์ตที่แข็งแกร่ง

ระดับกลาง
Feb 20, 2025
การบริหารความเสี่ยงเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จในการเทรดและลงทุน เรียนรู้กลยุทธ์ Stop-Loss กระจายพอร์ต และควบคุมอารมณ์เพื่อปกป้องเงินทุน

การบริหารความเสี่ยงในเทรดและการลงทุนในหุ้น: วิธีลดความเสี่ยงและสร้างพอร์ตที่แข็งแกร่ง

 

ในปัจจุบันที่หลายคนให้ความสนใจกับการลงทุนในหุ้นและการเทรดหุ้น นักเทรดและนักลงทุนทุกคงคนรู้ดีอยู่แล้วว่า กำไรและขาดทุนนั้นเป็นของคู่กัน แต่สิ่งที่แยกนักลงทุนและเทรดเดอร์มือสมัครเล่นออกจากมืออาชีพก็คือ "การบริหารความเสี่ยง" ไม่ว่าคุณจะเป็นเทรดเดอร์สายเทคนิคหรือเป็นนักลงทุนแบบเน้นคุณค่าและพื้นฐาน แน่นอนว่าความสามารถในการปกป้องเงินทุนนั้นสำคัญพอๆ กับการมองหาผลกำไร

แต่ตลาดที่หุ้นเต็มไปด้วยความผันผวน ไม่ว่าจะจากข่าวเศรษฐกิจ ปัจจัยภายนอก หรือแม้แต่แรงซื้อขายจากนักลงทุนที่คาดเดาได้ยาก ปัจจัยเหล่านี้สามารถเปลี่ยนแนวโน้มของราคาหุ้นได้ในพริบตา หากไม่มีแผนบริหารความเสี่ยงที่ดี พอร์ตของคุณอาจพังลงได้เร็วกว่าที่คิด

บทความนี้จะพาคุณไปเจาะลึก กลยุทธ์สำคัญในการลดความเสี่ยง ไม่ว่าคุณจะเป็นเทรดเดอร์รายวัน หรือเป็นนักลงทุนระยะยาว เทคนิคเหล่านี้จะช่วยให้คุณสามารถควบคุมความเสี่ยงและรักษาพอร์ตให้เติบโตได้อย่างมั่นคงและต่อเนื่อง

 


 

เข้าใจความเสี่ยงและอย่าปล่อยให้ตลาดควบคุมคุณ

 

หนึ่งในข้อผิดพลาดที่ร้ายแรงที่สุดของนักเทรดและนักลงทุนคือคิดว่าตนเองเข้าใจตลาดได้ดีอย่างมากและสามารถหาจังหวะการลงทุนได้อย่างแม่นยำ แต่ความจริงแล้วตลาดหุ้นไม่มีใครควบคุมได้ สิ่งเดียวที่คุณควบคุมได้คือ "การบริหารความเสี่ยงของตัวเอง"

ตัวอย่างความเสี่ยงที่คุณต้องรับมือ

  • ความเสี่ยงจากตลาด (Market Risk): ตลาดหุ้นสามารถพุ่งขึ้นหรือลงได้อย่างรุนแรงจากปัจจัยที่เราคาดไม่ถึง เช่น ดอกเบี้ย เศรษฐกิจ หรือเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในประเทศ
  • ความเสี่ยงจากความผันผวน (Volatility Risk): หุ้นบางตัวเคลื่อนไหวรุนแรงกว่าหุ้นอื่นๆ ทำให้การเทรดต้องใช้จังหวะที่แม่นยำ
  • ความเสี่ยงจากตัวคุณเอง (Emotional Risk): การเทรดด้วยอารมณ์ เช่น ความโลภและความกลัว เป็นปัจจัยที่ทำให้พอร์ตเสียหายได้มากกว่าตลาดหุ้น

 


 

Stop-Loss: กฎเหล็กของการปกป้องเงินทุน 

 

"ไม่ขาย ไม่ขาดทุน" อาจเป็นคำปลอบใจที่ดี แต่ไม่ใช่กลยุทธ์ที่ใช้ได้จริง

การถือหุ้นหรือปล่อยให้การขาดทุนไหลไปเรื่อยๆ โดยหวังว่ามันจะกลับมาคืนทุน เป็นพฤติกรรมที่ทำให้นักลงทุนหลายคนต้องออกจากตลาดไปก่อนเวลาอันควร หนึ่งในวิธีที่ง่ายและมีประสิทธิภาพที่สุดในการบริหารความเสี่ยงคือ "การตั้ง Stop-Loss"

Stop-Loss คืออะไร?

หลายคนที่เป็นเทรดเดอร์อาจจะเข้าใจคำว่า Stop-Loss และใช้มันได้อย่างดีเยี่ยม Stop- Loss ก็คือ เครื่องมือที่จะช่วยให้เทรดเดอร์ปิดสัญญาซื้อขายได้อัตโนมัติเมื่อราคาถึงระดับที่กำหนดไว้ เพื่อลดการขาดทุนที่มากขึ้น แต่ในบทบาทของการลงทุนระยะยาวการใช้ Stop Loss ก็คือ การที่นักลงทุนรู้ว่าควรขายสินทรัพย์นั้นออกไปเมื่อไหร่ก็ตามที่การลงทุนไม่เป็นไปตามที่คาด

ไม่ว่าคุณจะเป็นเทรดเดอร์รายวัน หรือเป็นนักลงทุนระยะยาว Stop-Loss ถือเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้

ประเภทของ Stop-Loss สำหรับเทรดเดอร์

  • Fixed Percentage Stop-Loss: กำหนดจุดตัดขาดทุนที่ 10%-15% จากราคาที่ซื้อ
  • Trailing Stop-Loss: ให้จุด Stop-Loss เคลื่อนที่ตามราคาหุ้น เช่น หากหุ้นขึ้นจาก $100 ไป $120 Stop-Loss จะขยับขึ้นตาม เช่น 15% ต่ำกว่าราคาสูงสุด
  • Volatility-Based Stop-Loss: ตั้ง Stop-Loss ตามความผันผวนของหุ้น ใช้ตัวชี้วัดอย่าง Average True Range (ATR)

สำหรับนักลงทุนระยาว การเชื่อว่าบริษัทหรือหุ้นตัวใดตัวหนึ่งนั้นจะกลับมาที่จุดราคาเดิม หรือจะกลับมาทำกำไรได้ อาจจะต้องใช้การวิเคราะห์พื้นฐานบริษัท ผลประกอบการ ผลกำไร รวมถึงเหตุผลที่หุ้นตัวนั้นราคาตกไปอยู่ ณ จุดที่คุณมีความคิดว่าจะขายมัน

แต่หากมันไม่เป็นไปตามที่คิด ให้นึกไว้เสมอว่า การขายขาดทุนไม่ใช่เรื่องที่ผิดพลาด แต่ถือเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความมั่นคงระยาวให้กับพอร์ตโฟลิโอของคุณเอง

ในการเทรด ความเสี่ยงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่คุณสามารถควบคุมและลดผลกระทบที่เกิดจากความเสี่ยงได้ IUX ช่วยให้คุณจัดการพอร์ตได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย ระบบ Stop-Loss อัตโนมัติ การติดตามพอร์ตแบบเรียลไทม์ และเครื่องมือวิเคราะห์ความเสี่ยงที่แม่นยำ เพื่อช่วยปกป้องเงินทุนของคุณจากความผันผวนของตลาด ยกระดับกลยุทธ์การลงทุนของคุณด้วยคำสั่งซื้อขายขั้นสูง ให้คุณวางแผนและตัดสินใจได้อย่างมั่นใจ สมัครใช้งาน IUX วันนี้และก้าวสู่การลงทุนที่มั่นคงและมีประสิทธิภาพ!
 
 

 

การกระจายความเสี่ยงและอย่าฝากอนาคตไว้กับหุ้นเพียงตัวเดียว

 

หลายคนเชื่อมั่นในบริษัทและหุ้นบางตัวมากเกินไป จนทุ่มเงินทั้งหมดไปกับหุ้นเพียงไม่กี่ตัว หรือโฟกัสแค่กลุ่มอุตสาหกรรมเดียว แต่มันคือกับดักที่อันตรายที่สุดของนักลงทุน

ตัวอย่างจริงของการไม่กระจายความเสี่ยง

  • นักลงทุนหลายคนในช่วงวิกฤติฟองสบู่ดอทคอมปี 2000 ทุ่มเงินทั้งหมดไปกับหุ้นเทคโนโลยีเพราะคิดว่ามันเป็นอนาคต สุดท้ายเมื่อฟองสบู่แตก พอร์ตของพวกเขาพังเกือบทั้งหมด
  • ในปี 2008 วิกฤติซับไพรม์ทำให้หุ้นกลุ่มธนาคารและอสังหาริมทรัพย์ร่วงหนัก นักลงทุนที่ถือหุ้นในกลุ่มเดียวกันต้องเผชิญกับขาดทุนมหาศาล

วิธีการกระจายความเสี่ยงที่ได้ผล

  • ถือหุ้นจากหลายอุตสาหกรรม เช่น เทคโนโลยี การแพทย์ พลังงาน และสินค้าอุปโภคบริโภค
  • ลงทุนในสินทรัพย์หลายประเภท เช่น หุ้น ตราสารหนี้ ทองคำ ETF หรือกองทุนอสังหาริมทรัพย์ (REITs)
  • พิจารณาการลงทุนในหลายประเทศ เช่น สหรัฐฯ ยุโรป และเอเชีย เพื่อลดความเสี่ยงจากเศรษฐกิจของประเทศใดประเทศหนึ่ง

 


 

บทสรุป: การบริหารความเสี่ยงคือหัวใจของความสำเร็จ

ไม่ว่าคุณจะเป็นเทรดเดอร์ที่มองถึงการทำกำไรระยะสั้น หรือเป็นนักลงทุนระยะยาวที่เน้นการเติบโตของพอร์ต การบริหารความเสี่ยงคือสิ่งที่คุณไม่สามารถละเลยได้

สิ่งที่คุณต้องทำเพื่อให้การบริหารความเสี่ยงมีประสิทธิภาพคือ การตั้ง Stop-Loss ทุกครั้ง เพื่อป้องกันการขาดทุนที่รุนแรง ไม่ปล่อยให้การเทรดผิดพลาดเพียงครั้งเดียวส่งผลกระทบต่อพอร์ตทั้งหมด การกระจายความเสี่ยงอย่างเหมาะสมเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ เพื่อลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาสินทรัพย์ตัวเดียวมากเกินไป เพราะแม้แต่หุ้นที่แข็งแกร่งที่สุดก็สามารถเผชิญกับการปรับฐานที่คาดไม่ถึงได้ นอกจากนี้ การควบคุมอารมณ์ในการเทรด เป็นสิ่งที่นักลงทุนทุกคนต้องฝึกฝน อย่าปล่อยให้ความโลภผลักให้คุณเข้าซื้อเกินกว่าที่ควร หรือให้ความกลัวทำให้คุณตัดสินใจขายออกเร็วเกินไป

เมื่อคุณสามารถจัดการความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเทรดและการลงทุนของคุณจะมีความมั่นคงมากขึ้น และโอกาสในการเติบโตของพอร์ตจะเป็นไปได้อย่างยั่งยืน

 


 

คำถามสำหรับนักลงทุนและเทรดเดอร์

  • ตอนนี้คุณมีแผนบริหารความเสี่ยงสำหรับพอร์ตของคุณแล้วหรือยัง?
  • คุณเคยตั้ง Stop-Loss แล้วเปลี่ยนใจไม่ขายเพราะกลัวพลาดโอกาสกลับมาทำกำไรหรือไม่?
  • คุณกระจายพอร์ตของคุณดีพอหรือยัง หรือยังถือหุ้นกระจุกอยู่ในอุตสาหกรรมเดียวหรือเปล่า?

ถ้าคำตอบของคุณยังไม่ชัดเจน นี่อาจเป็นเวลาที่ดีที่สุดในการเริ่มต้นบริหารความเสี่ยงให้เป็นระบบ 

 

 

 

 

 

หมายเหตุ: บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลสำหรับการศึกษาในเบื้องต้นเท่านั้น มิได้มีเจตนาในการชี้นำการลงทุนแต่อย่างใด นักลงทุนควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจลงทุน