
วิเคราะห์การเทรด forex อย่างไร? ด้วยการใช้เทคนิค price action
การเทรด Forex ด้วย Price Action คืออะไร? (เพิ่มเติม)
เทรดเดอร์มือใหม่หลายคนอาจหลีกเลี่ยงการใช้อินดิเคเตอร์ในการวิเคราะห์แนวโน้มตลาดในการเทรด forex เนื่องจากมองว่าเป็นเรื่องที่เข้าใจยาก และหลายคนเลือกที่จะใช้การดูเพียงแค่ "ราคา" หรือ "Price Action "ของตลาดแทน
หนึ่งในแนวคิดหลักของการเทรด forex โดยใช้ Price Action คือไอเดียของนีกลงทุนที่มองว่า ตลาด แสดงอารมณ์ของเทรดเดอร์ผ่านกราฟราคา โดยเฉพาะในตลาดที่มีสภาพคล่องสูงอย่าง forex การเคลื่อนไหวของราคาในแต่ละช่วงเวลา จึงสะท้อนพฤติกรรมของทั้งฝั่งผู้ซื้อและผู้ขายได้อย่างชัดเจน
การเทรด forex ด้วยเทคนิค Price Action จะไม่เน้นการพึ่งพาอินดิเคเตอร์ แต่เน้นการสังเกตรูปแบบของกราฟแท่งเทียน ความยาวของไส้เทียน พื้นที่ที่ราคามักมีปฏิกิริยา และจุดที่แสดงถึงความลังเลหรือการกลับตัวของราคา ซึ่งช่วยให้นักเทรดตัดสินใจได้เร็วและแม่นยำยิ่งขึ้น
พื้นฐานการเทรด forex ด้วย price action
การอ่านพฤติกรรมจากรูปแบบแท่งเทียน
กราฟแบบแท่งเทียนไม่ใช่เพียงแค่รูปแบบของการดูกราฟราคาสดเพื่อใช้ในการวิเคราะห์การเทรด forexเท่านั้น แต่การการอ่านพฤติกรรมราคาจากรูปแบบกราฟแท่งเทียนยังสะท้อนถึง “แรงซื้อขาย” ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้นได้อย่างดี
โดยรูปแบบของกราฟแท่งเทียนต่างก็มีความหมายเฉพาะตัวในการแสดงการเคลื่อนไหวของราคา เช่น
-
Pin Bar : เป็นแท่งเทียนที่มีไส้ยาวชัดเจนด้านใดด้านหนึ่ง และตัวแท่งสั้นอยู่ด้านปลายฝั่งตรงข้าม ลักษณะนี้แสดงถึงแรงปฏิเสธราคาที่ไม่สามารถผ่านแนวรับหรือแนวต้านได้ แรงขายหรือซื้อมักจบลงด้วยการพาราคากลับไปยังทิศทางเดิม
-
Engulfing : เกิดจากแท่งเทียนที่มีขนาดใหญ่กลืนแท่งก่อนหน้าไว้ทั้งหมด โดยเฉพาะเมื่อเกิดบริเวณโซนที่ราคาพักตัวหรือกลับทิศ การเปลี่ยนแรงจากฝั่งหนึ่งไปสู่อีกฝั่งมักเกิดขึ้นอย่างชัดเจนในลักษณะนี้
-
Doji : มีลักษณะราคาปิดและเปิดเกือบเท่ากัน แท่งเทียนนี้บ่งบอกถึงความไม่ชัดเจนในทิศทาง แรงซื้อและขายสูสีกันจนราคาสุดท้ายไม่ไปไหน บางครั้งเป็นสัญญาณของการเปลี่ยนแนวโน้มเมื่อเกิดหลังการเคลื่อนไหวที่รุนแรง
รูปแบบของกราฟแท่งเทียนเหล่านี้ไม่ได้มีความหมายมากนักหากเกิดขึ้นแบบลอยๆ กลางกราฟราคาโดยไม่มีบริบทรองรับ เช่น ไม่อยู่ใกล้แนวรับแนวต้าน หรือไม่เกิดหลังจากราคามีแรงเคลื่อนไหวชัดเจนมาก่อน
แต่ถ้ารูปแบบของกราฟแท่งเทียนเหล่านี้เกิดในบริเวณที่ราคามักมีปฏิกิริยาแรง เช่น แนวรับที่เคยเด้งกลับหลายครั้ง หรือแนวต้านที่ถูกทดสอบซ้ำๆ แรงซื้อหรือขายมักจะกลับมาอีกครั้ง และรูปแบบแท่งเทียนในจุดเหล่านี้สามารถทำหน้าที่เป็นสัญญาณยืนยันได้ว่าตลาดกำลังตอบสนองต่อระดับราคานั้นอีกครั้ง
ในบางจังหวะ เช่น Pin Bar ที่มาพร้อมกับปริมาณการซื้อขายที่สูง หรือ Engulfing ที่เกิดหลังแนวโน้มเริ่มอ่อนแรงลงเรื่อยๆ รูปแบบเหล่านี้ไม่ใช่แค่สะท้อนอารมณ์ตลาดระยะสั้นเท่านั้น แต่ยังอาจเป็นจุดเปลี่ยนของแนวโน้มที่นักเทรดสามารถใช้วางแผนจัดการความเสี่ยงจากการขึ้นลงครั้งใหญ่ได้ชัดเจนขึ้น
การบริหารความเสี่ยงแบบ price action trader
การเทรด forex ด้วย Price Action ไม่ใช่แค่การมองหาจุดเข้าเทรดที่แม่นยำ แต่รวมถึงการวางแผนจัดการความเสี่ยงให้รอบคอบด้วย โดยเฉพาะเรื่องของอัตราส่วนกำไรต่อความเสี่ยง (Risk : Reward Ratio) ที่ควรอยู่ในระดับที่คุ้มค่า เช่น เสี่ยง 1 ส่วน เพื่อหวังกำไรอย่างน้อย 2 ส่วน
ยกตัวอย่างการคำนวณ
- สมมติเข้าซื้อที่ราคา 1.2000
- ตั้ง Stop Loss ที่ 1.1970 (ความเสี่ยง 30 จุด)
- ตั้ง Take Profit ที่ 1.2060 (เป้ากำไร 60 จุด)
- อัตราส่วน = 1:2
การตั้งจุดตัดขาดทุน (Stop Loss) และเป้าหมายกำไร (Take Profit) ควรอิงจากพฤติกรรมของราคา ไม่ใช่ตั้งแบบสุ่ม ตัวอย่างเช่น
- วาง Stop Loss ไว้ใต้ปลายไส้ของ Pin Bar หากเป็นออร์เดอร์ BUY
- วาง Take Profit ไว้ที่แนวต้านถัดไปหรือจุดที่ราคาเคยกลับตัว
หากคุณเป็นนักเทรดที่ใช้กลยุทธ์ Price Action และกำลังมองหาแพลตฟอร์มที่ตอบโจทย์ IUX คือทางเลือกที่เหมาะสำหรับคุณ ด้วยการเข้าถึงคู่สกุลเงินหลักได้โดยตรง ใช้งานง่าย สั่งซื้อขายได้รวดเร็ว พร้อมเครื่องมือกราฟที่เหมาะกับสาย Price Action โดยเฉพาะ เริ่มต้นเทรดกับ IUX วันนี้ เพื่อยกระดับการวิเคราะห์และวางแผนการเทรดของคุณให้แม่นยำยิ่งขึ้น!
เทรด Forex ด้วยการวิเคราะห์แนวโน้มตลาดโดยใช้ price action
ทำความเข้าใจลักษณะของแนวโน้มตลาดก่อนลงมือเทรด forex
การดูแนวโน้มการเทรด ไม่ใช่แค่ดูว่าราคาเคลื่อนไหวขึ้นหรือลง แต่ต้องพิจารณาด้วยว่าแนวโน้มนั้นยังมีแรงต่อเนื่องอยู่หรือไม่
-
แนวโน้มแข็งแรง: ราคาเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวต่อเนื่อง แท่งเทียนมีขนาดยาวและมีแรงชัดเจน
-
แนวโน้มอ่อนแรง: การเคลื่อนไหวเริ่มแผ่วลง แท่งเทียนสั้นลง มีการแกว่งตัวมากขึ้น และเริ่มเข้าใกล้กรอบแนวรับแนวต้าน
-
แนวโน้มกำลังเปลี่ยน: เริ่มเห็นแท่งเทียนที่บ่งบอกความลังเล เช่น Doji หรือแท่งที่มีไส้ยาวทั้งสองด้าน ราคาขึ้นลงสลับในช่วงแคบ
วิเคราะห์โครงสร้างตลาดก่อนเทรด forex Price Action บอกอะไรเรา?
การวิเคราะห์โครงสร้างตลาด คือ การสังเกตว่าราคากำลังสร้างรูปแบบแบบไหนบนกราฟราคา ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการเทรด forex ด้วยเทคนิค price action เพราะมันแสดงให้เห็นถึงทิศทาง ความต่อเนื่อง หรือแม้แต่สัญญาณการเปลี่ยนแนวโน้ม
- แนวโน้มขาขึ้น : ตลาดจะสร้าง “จุดสูงใหม่” (Higher High) และ “จุดต่ำใหม่” ที่อยู่สูงขึ้น (Higher Low) อย่างต่อเนื่อง หมายความว่าแรงซื้อยังคุมตลาดอยู่ ตลาดยังมีแนวโน้มไปต่อ
-
แนวโน้มขาลง : แนวโน้มนี้ ราคาจะค่อยๆ ทำ “จุดต่ำใหม่” ที่ต่ำลงเรื่อยๆ (Lower Low) และ “จุดสูงใหม่” ที่อยู่ต่ำกว่าเดิม (Lower High) สะท้อนว่าแรงขายเริ่มกดดันตลาด และฝั่งซื้อไม่สามารถดันราคาให้กลับขึ้นไปได้
- การเปลี่ยนโครงสร้าง มักเกิดขึ้นหลังจากแนวโน้มยาวๆ ที่เริ่มหมดแรง เช่น เมื่อราคาไม่สามารถสร้าง Higher High ได้อีก หรือเมื่อราคาทะลุแนวรับ/แนวต้านสำคัญที่เคยรองรับไว้ โครงสร้างจะเริ่ม “ผิดรูป” และอาจเป็นจุดเริ่มของแนวโน้มใหม่
สิ่งที่นักเทรดหลายคนมองหาไม่ใช่แค่การวิ่งของราคา แต่คือจุดที่โครงสร้างเริ่มเปลี่ยน เพราะนั่นคือช่วงที่ตลาดเริ่มไม่แน่ใจ ทิศทางใหม่อาจกำลังก่อตัว และเป็นจังหวะที่น่าสนใจมากที่สุดสำหรับการเข้าเทรด
เทคนิคเสริม: การเทรด forex ด้วยเทคนิค price action แบบหลาย Timeframe
การเทรด Forex ด้วยเทคนิค Price Action แบบหลาย Timeframe เป็นการวิเคราะห์กราฟจากหลาย Timeframe ซึ่งช่วยให้เห็นภาพตลาดในมิติต่างๆ ชัดเจนขึ้น เพราะแต่ละช่วงเวลาจะให้ข้อมูลที่ไม่เหมือนกัน ทั้งแนวโน้มใหญ่ พื้นที่กลับตัว และจุดเข้าออเดอร์ที่แม่นยำ เช่น
-
Timeframe ใหญ่ อย่าง H4 หรือ D1 แสดงแนวโน้มหลักของตลาด เป็นภาพรวมว่าราคากำลังเคลื่อนไปในทิศทางไหน เช่น ขาขึ้น ขาลง หรือแกว่งในกรอบ
-
Timeframe กลาง อย่าง H1 หรือ M30 ใช้ดูบริเวณที่ราคามักมีการเปลี่ยนทิศทาง เช่น โซนแนวรับแนวต้าน หรือบริเวณที่ราคาเริ่มชะลอ
-
Timeframe เล็ก อย่าง M15 หรือ M5 เหมาะสำหรับดูจังหวะเข้าออเดอร์ในรายละเอียด เช่น จุดที่ราคาเบรกออกจากกรอบ หรือแท่งเทียนที่แสดงแรงซื้อแรงขายชัดเจน
เมื่อมอง Price Action แบบหลาย Timeframe ร่วมกัน จะเห็นทั้งภาพกว้างและรายละเอียดเล็กที่ซ้อนกันอยู่ในตลาดเดียวกัน การวางแผนหรือพิจารณาแต่ละจุดจึงอิงกับทั้งแนวโน้มและพฤติกรรมราคาที่เกิดขึ้นจริงในหลายมิติ
หมายเหตุ: บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลสำหรับการศึกษาในเบื้องต้นเท่านั้น มิได้มีเจตนาในการชี้นำการลงทุนแต่อย่างใด นักลงทุนควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจลงทุน